ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์
กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ (bioactive compounds) มากกว่า 400 ชนิด มีบางชนิดที่นำมาใช้ กัญชาทางการแพทย์ พบมากที่สุดเป็น สารแคนนาบินอยด์(cannabinoids) ได้แก่ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอยด์ (delta-9 tetrahydrocannabinol: THC) และแคนนาบิไดอัล (cannabidiol: CBD) ออกฤทธิ์ ยับยั้ง กระตุ้น ระบบประสาท ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน ผ่านระบบ endocannabinoid ของร่างกาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย แต่สามารถปลูกได้ทุกประเทศทั่วโลก


กัญชาใช้เป็นยาตั้งแต่สมัยโบราณ มีบันทึกในตำราอายุรเวทของชนเผ่าต่าง ๆ มานานกว่า ๓,๐๐๐ ปี ประเทศไทยมีกฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้กัญชาในด้านนันทนาการ แต่ให้ใช้กัญชาเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยและการศึกษาวิจัย(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)ความรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายโรคไม่มีข้อมูลของการรักษาที่ชัดเจน ต้องรอผลสรุปของงานวิจัยที่เชื่อถือได้
แต่งานวิจัยเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ เป็นไปอย่างเชื่องช้า ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์และความต้องการในการรักษาด้วยกัญชาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะมีอุปสรรคและปัญหาหลายข้อ เช่น
- งานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ยังมีน้อย ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ที่จะสรุปถึงผลดีผลเสีย ผลข้างเคียงอันตรายระยะสั้นและระยะยาว
- เป็นการยากที่ผู้ทำวิจัยจะเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ ในแง่ของคุณภาพ ปริมาณ ชนิดของกัญชา ขนาดของกัญชาที่บริสุทธิ์และเหมาะสมที่จะใช้ในแต่ละขนาดตามข้อบ่งใช้ในแต่ละโรค เพื่อน ามาวิจัยถึงโทษและประโยชน์ทางการแพทย์
- ขาดเครือข่าย สนับสนุนงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ที่หลากหลาย เพื่อให้ทราบถึงโทษและประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง
- การที่จะทราบถึงผลทั้งระยะยาวและระยะสั้นของกัญชาต่อสุขภาพ ต้องพัฒนามาตรฐานระเบียบวิธีวิจัยให้เป็นที่เชื่อถือได้
ประโยชน์ของสารสกัดกัญชา
เท่าที่มีข้อมูลมาแล้ว แบ่งประโยชน์เป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. ได้ประโยชน์ในการรักษา มีข้อมูลสนับสนุนทางด้านวิชาการชัดเจน ได้แก่
- การเจ็บปวดเรื้อรังในผู้ใหญ่
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบ าบัด
- อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis หรือ MS)
- โรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคลมชักที่ดื้อยา
- ภาวะปวดปลายประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล
2. น่าจะได้ประโยชน์ในการรักษาในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือวิจัยเพิ่มเติม
ในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผล เพื่อสนับสนุนการน ามาใช้ เช่น
- Fibromyalgia
- โรคพาร์กินสัน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรควิตกกังวลทั่วไป
- ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
- มะเร็งระยะสุดท้าย
- เพิ่มการอยากอาหาร ลดการสูญเสียน้ าหนักในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์
- ลดอาการตื่นเต้น (improving anxiety symptom) ทดสอบโดยให้พูดในที่สาธารณะ ใน social
anxiety disorder - ลดอาการของ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)
3. อาจมีประโยชน์ในการรักษา แต่ยังขาดข้อมูลจากงานวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผล ซึ่งต้องศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองก่อนนำมาศึกษาวิจัยในมนุษย์ เช่น ความจำเสื่อม (dementia) และการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ส่วนการที่พบว่า สารบริสุทธิ์ในกัญชาซึ่งท าเป็นสารสังเคราะห์คือ dronabinol อาจจะทำให้การนอนหลับดีขึ้นในคนไข้ที่มีการรบกวนการนอนจาก OSAS (obstructive sleep apnea syndrome) แต่ยังมีข้อมูลน้อยมากและต้องการข้อมูลที่ศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยอีก ประกอบกับการใช้สารสกัดกัญชาที่ยังมีสารอื่น ๆ ปะปนอยู่หลายชนิด จะทำให้เกิดผลเสียได้ในการน ากัญชามารักษาหรือบรรเทากลุ่มอาการนี้ในผู้ป่วย
ในปัจจุบันมีหลายโรค หลายภาวะ ที่ยังไม่มีหลักฐานที่จะยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาด้วยกัญชา ต้องใช้หลัก SAS (Special Access Scheme) การรักษากรณีจ าเป็นส าหรับผู้ป่วยเฉพาะราย เป็นแนวทางการสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์ ทั้งควรรีบเร่งท าการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้ เพื่อให้การใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เอกสารอ้างอิง BMJ 2019;365:l1141
คำต่าง ๆ และความหมาย ที่ใช้เกี่ยวกับกัญชา ในบทความวิชาการในวารสารต่าง ๆ (BMJ 2019;365:l1141)
ต้นกัญชาสามารถสังเคราะห์และผลิตสารที่เกิดตามธรรมชาติ เรียกว่า cannabinoids และมีสารกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่า ๑๔๔ ชนิด
Cannabinoid เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบ endocannabinoid ซึ่งมีอยู่แล้วในระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ต้นกัญชาสังเคราะห์สาร cannabinoids หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่THC และ CBD รวมทั้งสารสร้างสีให้แก่พืช เช่น flavonoids เป็นต้น
THC ย่อจาก ∆9-tetrahydrocannabinol เป็นสาร cannabinoid ที่ใช้ในทางการแพทย์ และอาจจะเกิดฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ (intoxicating effects) ได้ง่าย หากไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์หรือใช้ขนาดที่ไม่ถูกต้อง
CBD ย่อจาก cannabidiol เป็นสารที่ออกฤทธิ์ตรงกันข้ามกับ THC และมีข้อบ่งใช้ที่ไม่เกิดพิษเมื่อใช้ในทางการแพทย์
Cannabis based products for medicinal use หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ที่มีส่วนผสมของcannabinoids ที่ได้มาจากต้นกัญชา(เช่น มี THC และ/หรือ CBD)Synthetic cannabinoids for medicinal use หมายถึง ผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ cannabinoids ที่ใช้ในทางการแพทย์และออกฤทธิ์คล้าย THC
Non-medicinal CBD products หมายถึง ผลิตภัณฑ์ CBD ที่ไม่ได้น ามาใช้ในทางการแพทย์และไม่ได้ถูกควบคุมเพื่อใช้ในการแพทย์
Non-medicinal cannabis หมายถึง กัญชาที่ไม่ได้ใช้ในทางการแพทย์ ไม่ถูกควบคุมและมีฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์บ่อย ๆ
Non-medicinal synthetic cannabinoid หมายถึง ผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ cannabinoids ที่ไม่ได้มีสูตรโครงสร้างเหมือนกัญชาตามธรรมชาติ และไม่ได้น ามาใช้ในทางการแพทย์ (เช่น, cannabinoid receptor agonistsแบบสังเคราะห์ ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “Spice”)
Unapproved products หมายถึง ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองต ารับจาก
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สารที่พบในกัญชา มีหลายชนิดที่สำคัญ คือ สาร cannabinol, cannabidiol, tetrahydrocannabinol(THC) และมีน้ ามันระเหยอีก เช่น cannabichromenic acid, linolledie acid, lecihin, น้ ามัน, โปรตีน, วิตามินบี1,วิตามินบี2, choline, flavonoids เป็นต้น ยางจากช่อดอกเพศเมียมีสารเสพติด เช่น tetrahydrocannabinol เป็นต้น
กัญชาและสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญ มี 2 ขนานในกัญชาที่ออกฤทธิ์ต่างกัน คือ Δ9-tetrahydrocannabinol (THC) และcannabidiol (CBD) โดย THC ท าให้ความจ าเสื่อมทั้งระยะสั้นและยาว ตื่นเต้นเร้าใจง่าย และเกิดโรคจิตประสาท มีความหวาดระแวง โดยออกฤทธิ์กระตุ้นที่ endocannabinoid 1 (CB1) receptors ฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลายและการเสพติดมักจะเกิดจากการได้สาร THC เข้าร่างกาย สาร THC ออกฤทธิ์ในระบบสมองหลายแห่งและขัดขวางการสื่อนำไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง (วัดด้วยวิธีfunctional magnetic resonance imaging) โดยเฉพาะในส่วนที่เป็น posterior cingulate cortex ที่ท าให้ผู้เสพรู้สึกมึนเมา ตัวเบาและร่างกายไม่ท าตามที่สมองสั่ง (feeling of being stoned and high) นอกจากนี้ THC ยังยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์สมองโดยท าให้เกิด pruning ของ dendritic spines และการฝ่อของ dendritic arborization ในวัยรุ่นเร็วกว่าปกติและท าให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทขัดข้อง จึงอาจจะท าให้เกิดโรคจิตประสาทได้ง่ายขึ้น
ส่วน CBD ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับ THC และให้ผลตรงกันข้ามเหมือนกับคอยต้านฤทธิ์ของ THC เช่น ต่อต้านการเกิดโรคจิตประสาท ความจ าเสื่อมและลดความตื่นเต้นตกใจง่ายจากสาร THC สาร CBD ไม่ก่อให้เกิดฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์เมื่อใช้ในขนาดปกติและลดcellular reuptake และ hydrolysis ของ anandamide, ยังออกฤทธิ์ต่อต้านการกระตุ้น orphan receptor GPR55 และ 5-HT1A receptor และ CB1 receptor สาร CBD ไม่ท าให้เสพติด ไม่ท าให้เกิดอาการเมา ซึมหรือร่างกายไม่ท าตามที่สมองสั่ง อาจจะท าให้บางรายนอนหลับได้ เพิ่มความอยากอาหาร และมีอารมณ์ดี บรรเทาอาการของโรคหลายชนิด แต่ไม่ได้เกิดผลดีทุกราย และเป็นสารที่เซลล์ในระบบประสาทผลิตเองอยู่แล้ว ในการศึกษา CBD เพิ่มระดับ endocannabinoid ในโรค schizophrenia และท าให้อาการดีขึ้น ฤทธิ์ข้างเคียงจากการใช้ CBD พบได้บ้าง เช่น อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ตัวเบา และต้องระวังการได้ยาขนานอื่นร่วมดัวย เช่น warfarin ยากลุ่ม proton pump inhibitors เช่น omeprazole และ amitriptyline เพราะจะท าให้ฤทธิ์ของยา ดังกล่าวอยู่นานขึ้น เป็นต้น ดังนั้น สารสกัดกัญชาที่มีCBD สูง จะเป็นทางเลือกในการใช้ทางการแพทย์และต่อต้านฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ของ THC ได้
เนื่องจากโครงสร้างของสาร THC มีรูปร่างและส่วนประกอบคล้ายกับสาร (anandamide) ที่เซลล์สมองใช้ในการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองในระบบประสาท เมื่อสาร THC เข้ามาในสมอง ตัวรับ cannabinoid ที่ผิวเซลล์สมองจะจับกับสาร THC ได้และเซลล์สมองจะถูกกระตุ้นให้ท างานเพี้ยนหรือผิดปกติ ท าให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองที่ควบคุมหน้าที่ต่าง ๆ ดังกล่าวเพี้ยนไปจากปกติ และส่งผลให้เซลล์สมองท างานผิดไปจากปกติได้มาก ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อเสพสารสกัดกัญชา THC จะเข้าไปจับกับตัวรับ cannabinoid ในส่วน hippocampus และสมองส่วนหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับความจ าและสายตา (orbitofrontal cortex) และรบกวนความสามารถในการคิดและเรียนรู้พร้อมกับไม่สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้ สาร THC ยังรบกวนการทรงตัวซึ่งควบคุมด้วย cerebellum ทำให้การประสานงาน การยืนหรือเดินอย่างสมดุลเสียไป และยังลดความรวดเร็วของปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ใช้ห้ามผู้ที่เสพสารสกัดกัญชาขับรถ หรือท าให้ผู้นั้นไม่สามารถที่จะแข่งกีฬาได้ดี หรือไม่สามารถประสาน
การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ดีเหมือนเดิมได้ส่วนผู้ที่เสพในขนาดสูง จะเกิดภาวะโรคประสาทที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน เกิดภาพหลอนหรือประสาทหลอนและสูญเสียความรู้สึกเป็นตัวตนของตนเองได้ แต่เนื่องจากสาร THC ก็กระตุ้นสมองส่วนที่หลั่งสาร dopamine และท าให้
เกิดความรู้สึกที่ดีหรืออยากมีพฤติกรรมที่ให้ความรู้สึกดี ๆ หรือสนุกสนาน เช่น จากการกินหรือการมีเพศสัมพันธ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะมีระดับความรุนแรงมากกว่าการกระตุ้นตามธรรมชาติเพราะมีการหลั่งสาร dopamine มากเกินไป ทำให้เกิดความสนุกสนานมากเกินปกติจนเมาหรือเมาเคลื้มที่เรียกว่า high ซึ่งเป็นการใช้เพื่อมุ่งเรื่องนันทนาการที่ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
การศึกษาเร็ว ๆ นี้ ในอาสาสมัคร ๑๗ รายที่ตรวจต าแหน่งการออกฤทธิ์ของสาร Δ9-tetrahydrocannabinol(THC) และ cannabidiol (CBD) ต่อเครือข่ายการติดต่อในสมองขณะพักในอาสาสมัคร ๑๗ ราย โดยใช้วิธีวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง fMRI หลังสูดดมกัญชาได้นานประมาณ ๙๐ นาทีพบการลดหรือท าลายการสื่อสารของเครือข่ายในสมองได้
การศึกษาครั้งนี้ ทำในอาสาสมัคร ๑๗ รายที่เคยได้กัญชามาก่อนเป็นครั้งคราว (ยังไม่เสพติด) และเครือข่ายการสื่อสาร
ในสมองทั้ง ๓ แห่งที่น ามาศึกษาดังกล่าว ได้แก่
๑. The default mode (DMN; คือมีpositive connectivity กับ posterior cingulate cortex: PCC+)
๒. Executive control (ECN; คือมีnegative connectivity กับ posterior cingulate cortex: PCC−)
๓. Salience (SAL; คือมีpositive connectivity กับ anterior insula: AI+).
และทดลองใช้กัญชา ๓ ชนิดที่ท าให้เป็นไอระเหยและให้สูดดมในอาสาสมัคร ๑๗ ราย
๑. ชนิดแรกมีTHC อย่างเดียว (ใช้รหัส Cann−CBD; 8 mg THC),
๒. ชนิดที่สองมีTHC กับ CBD (ใช้รหัส Cann+CBD; 8 mg THC + 10 mg CBD),
๓. ชนิดที่สาม เป็นยาหลอกที่ไม่มีทั้ง THC และ CBD
รูปแบบงานวิจัยที่ใช้คือ randomized, crossover, placebo-controlled, double-blind design บนพื้นฐานของ Latin Square design และมีระยะเวลา wash-out อย่างน้อย ๑ สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลานี้ยาวนานกว่าค่ากึ่งชีพของ THC ถึง ๓ เท่า
ผลการศึกษาพบว่า มีการลด functional connectivity ในเครือข่าย DMN (PCC+) และ SAL (AI+) เมื่อใช้กัญชาที่มี THC และ THC กับ CBD โดยเกิด spatially dissociable effects. ในเครือข่าย salience (AI+), กัญชาที่ไม่มี CBD ลด connectivity มากกว่ากัญชาที่มี THC กับ CBD ส่วนการสื่อสาร PCC ในเครือข่าย DMN จะถูกยับยั้ง/ทำลายจากกัญชาที่มีแต่ THC อย่างเดียวและสัมพันธ์กับความรู้สึกของอาสาสมัครที่เกิด feeling ‘stoned’ (แปลว่าร่างกายไม่ทำตามคำสั่งของสมอง? หรือมึนเมาอยู่นิ่ง ๆ) และ ‘high’ (แปลว่า รู้สึกตัวเบา เมา การทรงตัวจะไม่ค่อยคล่องแคล่วเหมือนปกติ?) การศึกษาสรุปได้ว่า THC ท าลายการสื่อสารใน PCC ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในสมองที่ท าให้เกิด THC intoxication ส่วน CBD ช่วยบรรเทาการขัดขวางการสื่อสารที่ต าแหน่งดังกล่าวและอาจจะน ามาใช้รักษาโรคจิตประสาทและการเสพติดได้
การศึกษาครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า การสูดดมสาร THC เข้าในร่างกายและสารนี้ขึ้นไปที่สมอง จะทำลายหรือขัดขวางการสื่อสารของเครือข่ายต่าง ๆ ในสมองได้ โดยเฉพาะการที่ไม่มีสาร CBD เข้าไปอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะท าให้สมรรถนะในการตัดสินใจสั่งงานจากสมองในเวลาเกิดเหตุกระทันหัน ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีหรือรวดเร็วเท่าที่ควรจะเป็น(ข้อมูลจาก Wall MB, Pope R, Freeman TP, Kowalczyk OS, Demetriou L, Mokrysz C, et al. (2019). Dissociable effects of cannabis with and without cannabidiol on the human brain’s resting-state
functional connectivity. J Psychopharmacol 2019;33(7):822-30. และ https://doi.org/10.1177/0269881119841568 )
ดังนั้น แพทยสภาไม่แนะนำให้ใช้กัญชาหรือสารสกัดกัญชาเพื่อนันทนาการ และไม่แนะนำการใช้สารสกัดหรือน้ำมันที่สกัดกัญชาเพราะไม่ทราบขนาดของสาร CBD หรือ THC ท าให้เสี่ยงต่อการใช้สาร THC เกินขนาด นอกจากนี้ เรายังไม่ทราบผลเสียทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว จึงต้องใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค หรือเพื่อเป็น palliative care เท่านั้น
อายุเท่าไรดีที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้?
ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่อนุมัติให้ใช้กัญชาได้เสรี ได้แนะน าไว้ชัดเจนว่า อายุที่น้อยที่สุดที่ใช้กัญชาคือ ๒๕ ปี เพราะเป็นวัยที่มีความคิดความอ่าน มีความรู้และมีความรับผิดชอบได้เต็มที่สมบูรณ์และเซลล์สมองมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว การศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่เสพกัญชา (cannabis user) มีความสามารถในการบริหารจัดการงานทั่วไปและการตัดสินใจบกพร่องกว่าผู้ใหญ่ที่เสพกัญชาโดยเฉพาะผู้ที่เสพปริมาณมาก นอกจากนี้ การใช้กัญชาในวัยรุ่น(อายุที่น้อย) สัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ จึงแนะน าให้ใช้กัญชาในผู้ที่มีอายุอย่างน้อย ๒๕ ปี เพราะน่าจะเกิดโทษน้อยกว่าและไม่น่าจะมีการท าลายเซลล์สมองอีก ส่วนประเทศที่อนุมัติให้ใช้กัญชาได้ตั้งแต่อายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ก็เพราะกฏหมายก าหนดให้เป็นวัยที่บรรลุนิติภาวะตามกฏหมายแล้ว ส่วนสมรรถนะในการตัดสินใจได้เองอย่างผู้ที่มีประสบการณ์และรอบคอบยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มีประสิทธิภาพดีในวัยนี้หรือไม่ ในมลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้กัญชาส าหรับนันทนาการได้ อายุต่ าสุดที่อนุมัติให้ซื้อได้คือ ๒๑ปี หากมีโรคที่ต้องใช้กัญชาและมีอายุอยู่ระหว่าง ๑๘ ถึง ๒๑ ปี ต้องแสดงบัตรทางการแพทย์ในเวลาซื้อ ส่วนผู้ที่ขับรถหากตรวจเลือดพบระดับสาร delta 9-tetrahydrocannabinol (THC) มากกว่า ๕ นาโนกรัมต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตรจะถูกจับข้อหาขับรถขณะมึนเมา เพราะสมรรถนะของการตัดสินใจในภาวะฉุกเฉินจะบกพร่อง ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ
คำแนะนำโดยสรุป
หากมีข้อบ่งใช้ชัดเจนทางการแพทย์ เช่น ใช้ในการรักษาโรคลมชักที่ดื้อยามาตรฐาน ผู้ป่วยมีอายุ ๑๘ ปีหรือต่ำกว่าก็ใช้กัญชารักษาได้หากเป็นโรคหรือมีอาการที่ยังไม่มีข้อบ่งใช้ของกัญชาเป็นยาขนานแรกและมียาขนานอื่นใช้ได้ดีอยู่แล้ว ไม่แนะน าให้ใช้กัญชาเป็นยาขนานแรกโดยเฉพาะการใช้กัญชาแบบต่อเนื่อง แพทยสภาแนะน าว่า โดยทั่วไป อายุที่เหมาะสมที่แพทย์หรือผู้ป่วยจะตัดสินใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ จะเป็น ๒๕ ปีบริบูรณ์
คำแนะนำบางข้อในเรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์จาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สำหรับแพทย์ที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมการใช้กัญชาจากกรมการแพทย์ จะต้องทราบข้อตกลงเบื้องต้นและคำจำกัดความบางข้อก่อนตามที่กรมการแพทย์ทำไว้กับแพทย์ผู้เข้าอบรมและมีสิทธิ์ใช้กัญชา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างแพทย์ผู้เข้าอบรมและแพทย์ผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมเมื่อกล่าวถึงการใช้กัญชาในทางการแพทย์ข้อตกลงเบื้องต้น(ระหว่างกรมการแพทย์กับผู้เข้าอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์)
แนวทางในเอกสารชุดนี้(อยู่บน website หรือในเอกสารที่แจกระหว่างการอบรม) ไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในการรักษา และ/หรือควบคุมอาการของผู้ป่วยเป็นการรักษาล าดับแรก (first-line therapy) ในทุกกรณี โดยเฉพาะ 10
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองต ารับ (unapproved products) ยกเว้นในกรณีที่ได้รับข้อมูลทาง
การแพทย์ และเป็นความประสงค์ของผู้ป่วยและครอบครัวตามสิทธิขั้นพื้นฐาน
- Unapproved products ต้องปลอดภัยจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ อาทิ สารโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา และสารอันตรายอื่นๆ ในกรณีที่ไม่ทราบอัตราส่วนของ THC และ CBD ในแต่ละผลิตภัณฑ์ การใช้อาจท าได้โดยเริ่มใช้ปริมาณที่น้อยที่สุด และเพิ่มขนาดครั้งละน้อยโดยสังเกตการตอบสนองและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
- การใช้ unapproved products ต้องค านึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิผลก่อนน ามาใช้ รวมถึงให้การดูแล ติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
- การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ควรจ ากัดเฉพาะกรณีที่การรักษาด้วยวิธีมาตรฐานต่าง ๆ ไม่ได้ผล/ หรือเกิดผลข้างเคียงที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนได้ การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ควรใช้เพื่อเป็นส่วนเสริมหรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐาน
- ผู้สั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ควรเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม และ/หรือเฉพาะโรค, ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้การรักษาโรคหรืออาการนั้นๆ หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผู้สั่งใช้ควรอยู่ภายใต้การ ก ากับ ดูแลหรือได้รับคำแนะนำในการรักษาผู้ป่วยจากบุคคลดังกล่าวข้างต้น
- ผู้สั่งใช้/ผู้จ่ายผลิตภัณฑ์กัญชาต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองและได้รับอนุญาตการเป็นผู้สั่งใช้/ ผู้จ่ายผลิตภัณฑ์กัญชา
คำจำกัดความของกัญชาในเอกสารของกรมการแพทย์
กัญชาทางการแพทย์หมายถึง สิ่งที่ได้จากการสกัดพืชกัญชา เพื่อน าสารสกัดที่ได้ มาใช้ทางการแพทย์และการวิจัยไม่ได้หมายรวมถึงกัญชาที่ยังคงมีสภาพเป็นพืช หรือส่วนประกอบใดๆ ของพืชกัญชา อาทิ ยอด ดอก ใบ ลำต้น ราก เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์กัญชา หมายถึง รูปแบบ หรือลักษณะของสารสกัดจากกัญชาที่ผ่านการเตรียมเพื่อนำมาใช้ทางการแพทย์กับผู้ป่วย อาทิ เม็ด สเปรย์พ่นในช่องปาก น้ ามันหยดใต้ลิ้น แท่งเหน็บทวารหนัก และ อื่นๆ
Unapproved products หมายถึง ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองต ารับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
โรคและภาวะที่ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
กรมการแพทย์ได้จัดท าเอกสารแนะนำให้ทราบว่า มีการใช้กัญชาในโรคอะไรบ้างตามน้ำหนักของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ให้ดูชื่อโรคหรืออาการเพิ่มเติมจากเอกสารที่กรมการแพทย์ได้จัดทำไว้ในเอกสารอบรม หรือท่านสามารถเข้าไปดูที่ website ของกรมการแพทย์และสามารถ download มาอ่านได้ง่าย หรืออ่านจากเอกสารชุดนี้ในหน้าที่ ๕ และ ๖ หัวข้อ ประโยชน์ของสารสกัดกัญชาเท่าที่มีข้อมูลมาแล้ว ซึ่งอ้างอิงมาจากเอกสารของกรมการแพทย์ก็จะมีชื่อโรคและภาวะหรืออาการต่าง ๆ ที่ใช้กัญชาได้
คำแนะนำ การใช้กัญชาทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒/๒๕๖๒
ได้แบ่งโรคและภาวะที่ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ แบ่งตามน้ าหนักของข้อมูลได้เป็น ๓ แบบ
๑. ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ได้ประโยชน์
๒. ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ น่าจะได้ประโยชน์ (ในการควบคุมอาการ)
๓. ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ อาจได้ประโยชน์ (ในอนาคต)
ความเห็นเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์จากราชวิทยาลัยต่าง ๆ
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ฯ ความคิดเห็นต่อการน ากัญชามาใช้ประกอบการรักษาในโรคระบบประสาท
- กลุ่มโรคและอาการทางระบบประสาทที่มีการน าสารสกัดจากกัญชามาใช้ได้แก่
- ๑.๑ กลุ่มโรคและภาวะทางระบบประสาทที่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอที่จะใช้สารสกัดจากกัญชาในการรักษา
- ๑.๑.๑ ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง และอาการปวด ที่เกิดจากโรคมัลติเพิลสเคลอโรสิส (multiple sclerosis) หรือเอ็มเอส อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลที่สนับสนุนถึงประสิทธิภาพในการใช้สารสกัดจากกัญชาในมนุษย์เพื่อน ามาลดอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ เช่น อาการสั่น หรือ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รวมทั้งไม่สามารถป้องกันการเป็นซ้ าหรือยับยั้งการด าเนินโรคได้ ส าหรับโรค นิวโรมัยอิไลติสออพติกา หรือเอ็นเอ็มโอ ถึงแม้ว่าจะมีอาการทางระบบประสาทที่คล้ายกับเอ็มเอส แต่การน าสารสกัดจากกัญชามาใช้ในโรคเอ็นเอ็มโอ ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
- ๑.๑.๒ โรคลมชักชนิด ดราเว่ และเลนนอกซ์ แกสโตท์(Dravet syndrome และ Lennox-Gastaut syndrome) ในเด็กที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชักมาตรฐาน โดยใช้สารสกัดจากกัญชาที่มีสารประกอบ CBD เป็นหลัก
- ๑.๒ โรคและอาการทางระบบประสาทที่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะน าสารสกัดจากกัญชามาใช้ในมนุษย์ข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่มีผลลัพธ์ชัดเจน รวมทั้งขาดข้อมูลของการใช้ในระยะยาว ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนน าสารสกัดจากกัญชาไปใช้ และไม่ควรใช้กัญชาในการรักษาแทนการรักษามาตรฐานที่มีอยู่
- ๑.๒.๑ ภาวะสมองเสื่อมเช่น อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในมนุษย์ว่ากัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาสามารถใช้ป้องกัน ชะลอโรคสมองเสื่อม หรือรักษาอาการอันเนื่องมาจากการเสื่อมของสมอง เช่น ความผิดปกติด้านการรู้คิดและอาการทางประสาทจิตเวชได้ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
- ๑.๒.๒ โรคพาร์กินสัน ข้อมูลในปัจจุบันพบว่ากัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาไม่สามารถใช้รักษาอาการเคลื่อนไหวผิดปกติซึ่งเป็นอาการหลักของโรคพาร์กินสัน เช่น การเคลื่อนไหวช้า หรืออาการยุกยิกจากยาเลโวโดปาได้อย่างไรก็ตาม พบว่าอาจช่วยบรรเทาอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น อาการปวด อาการผิดปกติของการนอนหลับ ที่พบในโรคพาร์กินสัน
- ๑.๒.๓ โรคลมชักชนิดอื่น นอกเหนือจากโรคลมชักชนิด ดราเว่ และเลนนอกซ์ แกสโตท์ในเด็ก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยากันชักในผู้ใหญ่ข้อมูลในมนุษย์ยังไม่มีหลักฐานมากพอ จึงไม่ควรใช้ ยกเว้นในกรณีที่อาการชักไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชักมาตรฐาน และได้รับการรักษาโดยกุมารแพทย์ประสาทวิทยาหรือประสาทแพทย์ อาจพิจารณาใช้รักษาร่วมในรูปแบบของการศึกษาวิจัย ที่มีการติดตามผลการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สารสกัดจากกัญชาอาจมีผลต่อระดับยากันชักที่ใช้ร่วมอยู่ รวมทั้งอาจมีผลต่อการท างานของตับเมื่อใช้ร่วมกับยากันชักบางชนิด
- ๑.๒.๔ โรคปวดศีรษะปฐมภูมิเช่น ไมเกรน ยังไม่มีหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะบ่งชี้ว่า สารสกัดจากกัญชามีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดหรือลดความถี่ในการปวดในโรคปวดศีรษะปฐมภูมิได้ดีกว่าการรักษามาตรฐาน
- ๑.๒.๕ โรคปวดปลายประสาทจากความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย ยังไม่มีหลักฐานอย่างเพียงพอที่แสดงว่าการใช้สารสกัดจากกัญชา ดีกว่าการรักษามาตรฐานในปัจจุบันในการลดความปวดปลายประสาท ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดที่เกิดตามหลังเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ ปวดปลายประสาทจากยาเคมีบ าบัด หรือจากเบาหวานแต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงมากกว่า จึงไม่แนะน าให้ใช้เป็นการรักษาทดแทนการรักษามาตรฐานที่มีอยู่แล้วยกเว้นในกรณีที่การรักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้ผลหรือเกิดผลข้างเคียง อาจพิจารณาการใช้สารสกัดจากกัญชา ในรูปแบบของการวิจัยที่มีประสาทแพทย์เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
- ๑.๒.๖ โรคนอนไม่หลับ กัญชามีฤทธิ์ท าให้เกิดอาการเคลิ้มและง่วง แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานอย่างเพียงพอถึงประโยชน์ของการใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชา ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการนอนหลับ นอกจากนี้ยังมีรายงานผลข้างเคียงจากกัญชา ได้แก่ การเกิดภาพหลอนจากการได้รับสาร THC
- ๑.๑ กลุ่มโรคและภาวะทางระบบประสาทที่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอที่จะใช้สารสกัดจากกัญชาในการรักษา
- ๒. ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและข้อควรระวังจากการใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชา
- ๒.๑ ผลข้างเคียงในระยะสั้นต่อระบบประสาท
- ๒.๑.๑ มีความผิดปกติในการใส่ใจและสมาธิ
- ๒.๑.๒ เวียนศีรษะหรือมึนศีรษะ
- ๒.๑.๓ ง่วงนอนมากผิดปกติ
- ๒.๑.๔ เห็นภาพหลอนหรือหูแว่ว
- ๒.๑.๕ ความผิดปกติในการตัดสินใจและการควบคุมการเคลื่อนไหว
- ๒.๑.๖ กล้ามเนื้ออ่อนล้า เพลียง่าย
- ๒.๑.๗ สูญเสียการทรงตัว
- ๒.๑.๘ คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง หรือท้องผูก
- ๒.๑.๙ มีภาวะซึมเศร้า หรือท าให้เกิดโรคจิต
- ๒.๑.๑๐ ความคิดและความจ าเลวลง
- ๒.๒ ผลข้างเคียงในระยะยาวต่อระบบประสาทมีการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาอาจมีผลเสียต่อความจ าระยะยาว การวางแผน และความสามารถในการตัดสินใจ และมีข้อมูลว่าการใช้กัญชาในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ๒.๓ ผลของกัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาในผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม
- ๒.๓.๑ ผู้ที่มีอายุต่ ากว่า ๒๕ ปี ไม่ควรใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชา เนื่องจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมอง ท าให้ไอคิวต่ ากว่าค่าเฉลี่ยปกติ ความจ าลดลง การใส่ใจและสมาธิลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
- ๒.๓.๒ ผู้สูงอายุ มีการศึกษาถึงผลข้างเคียงของสารสกัดจากกัญชา พบว่า มีผลต่อการเดินและการทรงตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม รบกวนความจ าระยะสั้น และการตอบสนองทางอารมณ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย เสียชีวิตกะทันหัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเพิ่มความเสี่ยงของอาการทางจิต รวมทั้งการฆ่าตัวตาย
- ๒.๓.๓ ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต เนื่องจากกัญชาจะท าให้อาการทางจิตเป็นมากขึ้น และมีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการใช้กัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต รวมทั้งผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวที่มีอาการป่วยด้วยโรคทางจิต
- ๒.๓.๔ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ควรใช้กัญชาและสารสกัดจากกัญชา เนื่องจากมีผลต่อระบบการท างานของหัวใจและท าให้มีการหดตัวของหลอดเลือด เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง และมีข้อมูลว่ากัญชาเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้กัญชายังมีผลเพิ่มระดับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดวาร์ฟาริน (warfarin) ท าให้มีความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกได้
- ๒.๓.๕ หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ไม่ควรใช้กัญชาและสารสกัดจากกัญชาเพราะจะมีผลต่อเด็กในครรภ์และท าให้พัฒนาการช้า
- ๒.๑ ผลข้างเคียงในระยะสั้นต่อระบบประสาท
- ๓. ปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดจากกัญชาและยาที่ใช้รักษาโรคทางระบบประสาทตัวอย่างยาที่อาจมีผลของการรักษาเปลี่ยนแปลงไป ถ้าใช้ร่วมกับสารสกัดกัญชาได้แก่
- ๓.๑ ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด วาร์ฟาริน สารจากกัญชาจะท าให้ระดับยาวาร์ฟารินเพิ่มขึ้นท าให้มีเลือดออกที่เป็นอันตรายได้
- ๓.๒ ยาต้านเกล็ดเลือด สารสกัดจากกัญชามีผลยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อเลือดออกผิดปกติได้
- ๓.๓ ยากันชัก สารสกัดจากกัญชาจะไปเพิ่มระดับยากันชักบางชนิด ท าให้เกิดภาวะเป็นพิษจากรระดับยาที่สูงเกินไป หรืออาจท าให้มีการท างานของตับผิดปกติได้
- ๓.๔ ยาต้านซึมเศร้าบางกลุ่ม สารสกัดจากกัญชาจะท าให้มีระดับยาต้านซึมเศร้าสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอารมณ์ผิดปกติมากขึ้
- ๔. การเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากยาและการพยาบาลเบื้องต้นเมื่อคนใกล้ชิดของท่านมีอาการทางระบบประสาทจากการใช้กัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาอาการทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย คือ อาการสับสน ประสาทหลอน ง่วงซึมโดยไม่มีเหตุอื่นชัดเจน ถ้าคนใกล้ชิดของท่านมีประวัติการใช้กัญชา หรือสารสกัดจากกัญชา หรือมีความเสี่ยงต่อการใช้กัญชา เมื่อเกิดอาการดังกล่าวให้หยุดการใช้กัญชาทันที ถ้าอาการรุนแรงให้น าส่งโรงพยาบาล ในกรณีที่มีสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชาเหลืออยู่ ให้น าไปให้แพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบันยังไม่มียาต้านฤทธิ์ของกัญชาโดยตรง (antidote)แพทย์จะให้การรักษาและดูแลภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองหลังจากหยุดการใช้ไปประมาณ ๒๔-๔๘ ชั่วโมง แต่ในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจ าตัว เช่น โรคตับ อาจมีอาการได้นานกว่าหากสงสัยว่า อาการประสาทอาจจะเกิดจากการใช้สารกัญชา หรือสารเสพติดอื่น ๆ ให้ซักประวัติและในกรณีที่สงสัยควรส่งตรวจปัสสาวะเพื่อหาระดับของกัญชา เนื่องจากสารสกัดจากกัญชาอาจท าให้มีระดับเอ็นไซม์ตับผิดปกติได้จึงแนะน าให้ตรวจระดับเอ็นไซม์ตับ (AST, ALT, total bilirubin) เป็นค่าพื้นฐานก่อนเริ่มยา และตรวจติดตามที่ ๑, ๓ และ ๖ เดือนหลังเริ่มยา หลังจากนั้นให้ตรวจเป็นระยะ และถ้ามีการใช้สารสกัดจากกัญชากับยาอื่นที่อาจมีผลต่อตับเช่น valproate จ าเป็นต้องมีการตรวจระดับเอ็นไซม์ตับอย่างน้อย ๑ เดือนหลังการให้ยา หรือปรับขนาดยา ส าหรับการรักษาในผู้ที่มีอาการทางระบบประสาทจากการใช้กัญชา เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาต้าน (antidote) โดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองหลังจากหยุดการใช้ไปประมาณ ๒๔-๔๘ ชั่วโมง แต่ในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจ าตัว เช่น โรคตับ อาจมีอาการได้นานกว่า ในกรณีที่มีอาการทางจิตเฉียบพลัน ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ และอาจพิจารณาการให้ benzodiazepine เช่น diazepam ๕-๑๐ มิลลิกรัม ทางปากหรือทางหลอดเลือดด า ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับกัญชาหรือสารสกัดจากกัญชาเกินปริมาณ (overdose) และมีอาการทางระบบอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องความดันโลหิตต่ า ก็ให้การรักษาไปตามแนวทางของอาการนั้น ในกรณีที่หมดสติ ควรใส่ท่อช่วยหายใจ และอาจพิจารณาการให้ activated charcoal (๓๐-๑๐๐ กรัม ในผู้ใหญ่ หรือ ๑-๒ กรัมต่อน้ าหนักตัว ๑ กิโลกรัมในเด็กเล็ก) ผ่านทาง nasogastric tube
ข้อคิดเห็นและคำแนะนำการใช้สารสกัดจากกัญชาในผู้ป่วยมะเร็ง แนวทางการใช้สารสกัดจากกัญชาในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- ยาแผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาที่ใช้ป้องกันรักษาผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง มีประสิทธิภาพสูง และจากหลักฐานเชิงประจักษ์ สารสกัดจากกัญชาที่ใช้ศึกษาในต่างประเทศ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนพอที่จะสนับสนุนการใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
- การเริ่มใช้สารจากกัญชาอาจเริ่มได้ต่อเมื่อ ได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่า ไม่สามารถให้การรักษาที่จำเพาะต่อโรค ที่จะช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วย และใช้ยาแผนปัจจุบันในการบรรเทาอาการ เต็มที่แล้วไม่ได้ผล
- สำหรับเรื่องอาการปวดจากมะเร็ง พิจารณาเป็นการรักษาเสริมกับยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน เมื่อได้รับยากลุ่ม opioids ในขนาดสูงแล้วยังควบคุมอาการปวดไม่ได้ (การรักษาอาการปวดจากมะเร็ง ควรอ้างอิงแนวทางการดูแลของสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย)
- สำหรับการใช้สารสกัดจากกัญชาในด้านการรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากยาแก้อาเจียนที่เป็นมาตรฐานการรักษามีประสิทธิภาพสูงและมีความปลอดภัยกว่า จึงไม่แนะน าให้ใช้ในข้อบ่งชี้นี้
- สำหรับการใช้สารสกัดจากกัญชาในด้านการรักษาอาการเบื่ออาหาร เนื่องจากมียากระตุ้นการเจริญอาหารที่มีประสิทธิภาพ และมีอาการข้างเคียงน้อยกว่า จึงไม่แนะน าให้ใช้ในข้อบ่งชี้นี้
- สำหรับการใช้สารสกัดจากกัญชาในด้านการักษาอาการนอนไม่หลับ ยาที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบันมีความปลอดภัยกว่า จึงไม่แนะน าให้ใช้ในข้อบ่งชี้นี้
- ส าหรับการใช้สารสกัดจากกัญชาในด้านการท าให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพ
- ไม่แนะน าให้เป็นการรักษาจ าเพาะส าหรับโรคมะเร็งที่มีแนวทางการรักษามาตรฐานอยู่แล้ว เนื่องจากการศึกษาในมนุษย์ยังไม่แสดงประสิทธิภาพในการควบคุมโรคมะเร็งชัดเจน และการศึกษาส่วนใหญ่ยังท าในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
- ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการศึกษาทางคลินิกว่าการใช้กัญชาสามารถน ามาใช้ต้านโรคมะเร็ง มีแค่หลักฐานที่จ ากัดว่า กัญชามีฤทธิ์บรรเทาความเจ็บปวดหรือลดการคลื่นไส้อาเจียนได้เมื่อเปรียบเทียบกับยาขนานเก่าที่ไม่ใช่มาตรฐานในปัจจุบัน
ข้อควรพิจารณา
- เนื่องจากสารสกัดจากกัญชายังขาดข้อมูลด้านเภสัชวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจริง จึงท าให้การใช้ยาในทางปฏิบัติมีข้อจ ากัดและความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
- สารสกัดจากกัญชามีผลข้างเคียงสูง โดยเฉพาะมีผลต่อความสามารถในด้านการรับรู้ และการตัดสิน ใจ(cognitive function)
- ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับขนาดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาตามข้อบ่งชี้ดังกล่าว และความเป็นพิษของยานอกเหนือจากนี้ อายุรแพทย์โรคมะเร็งส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้ และไม่มั่นใจในความปลอดภัยของยาดังกล่าวในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
- มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยมีความกังวลในการน าสารสกัดจากกัญชาไปใช้ผิดข้อบ่งชี้(drug abuse)เนื่องจากยากต่อการควบคุมการใช้กัญชา